Friday 18 March 2011

โรคที่เกิดกับสุนัขอ้วน

ความอ้วนของสุนัขเกิดจากร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไป มักเกิดจากการได้รับอาหารหรือพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย เมื่อไหร่ที่มองสุนัขของเราแล้วแยกไม่ออกว่าตรงไหนเป็นช่วงท้อง ตรงไหนเป็นช่วงอก นั่นแหละความอ้วนมาเยือนสุนัขของเราแล้ว
สาเหตุความอ้วนที่เกิดโรคในสุนัข ได้แก่
1. ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรือ hypothyroidism
2. ฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกิน หรือ hypercortisolism
3. เกิดความผิดปกติที่ต่อม hypothalamus (hypothalamiclesion)
4. เนื้องอกผิดปกติ ทำให้มีฮอร์โมนอินซูลินมากเกิน (insulinoma)



สุนัขอ้วน
โรคเหล่านี้ต้องพาสุนัขของเราไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด รวมทั้งค่าฮอร์โมนต่าง ๆ บางครั้งก็ต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม แต่ก็มีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่ทำให้สุนัขอ้วน ได้แก่
1. พันธุกรรม

2. การทำหมัน โดยเฉพาะในสุนัขเพศผู้ เนื่องจากลดฮอร์โมน testosterone

3. การได้รับอาหาร หรือพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้มาก



เมื่อความอ้วนมาเยือน ก็จะมีโรคต่าง ๆ ตามมา
1. ความผิดปกติของสภาพร่างกายทั่ว ๆ ไป เช่น ดูเซื่องซึม นอนมาก หนาวง่าย และเพิ่มความเสี่ยงในการวางยาสลบเพื่อการผ่าตัด
2. โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น โรคข้อเสื่อม และโรคกระดูกอื่น ๆ
3. โรคหัวใจ และระบบหมุนเวียนโลหิต ความอ้วนทำให้หัวใจทำงานหนักหรือทำงานมากขึ้น มีไขมันเกาะที่กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน และจังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ
4. โรคระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอ่อนทำงานมากขึ้น มีไขมันแทรกในเนื้อตับ
5. โรคของต่อมไร้ท่อ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน
6. โรคระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก เกิดโรคหลอดลมตีบแคบ ถุงลมทำงานผิดปกติ
7. โรคระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อได้งาย บาดแผลหายช้ากว่าปกติ
8. โรคระบบสืบพันธุ์ ทำให้แม่สุนัขคลอดลูกยาก ทำให้วงรอบการเป็นสัดไม่สม่ำเสมอ และมีอัตราการผสมติดต่ำ



เมื่อเรารู้ว่าสุนัขเราอ้วนแล้ว เราควรทำอย่างไรดี ในขั้นแรก ควรเริ่มต้นที่การควบคุมอาหาร โดยลดอาหารมัน ๆ ทั้งหลาย หรืออาหารหวานจัด เช่น อาหารที่ใสกะทิ หรืออาหารที่มีไขมันมาก เช่น ข้าวขาหมู จากนั้นควรงดอาหารขบเคี้ยว หรืออาหารว่างระหว่างมื้อ ต่อมาควรเพิ่มการออกกำลังกาย โดยเริ่มต้นจากการออกกำลังกายเบา ๆ ก่อน วันแรกอาจพาไปเดินเล่น 10-15 นาที และวันต่อมาค่อยวิ่งเหยาะ ๆ แล้วค่อยเพิ่มเวลา และความแรงในการออกกำลังกาย ที่สำคัญควรออกกำลังกายแบบสม่ำเสมอ อาจไม่ต้องทำทุกวันก็ได้ แต่ควรทำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ส่วนมากใช้ยาลดน้ำหนักในสุนัขไม่มีนะครับ
ดังนั้นเพื่อน ๆ สมาชิกทั้งหลายมาลดความอ้วนสุนัขของพวกเราเถอะ เพื่อที่เค้าจะได้อยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน โดยปราศจากโรคทั้งหลายที่เกิดจากโรคอ้วนครับ

1 comment:

Ruby said...

สุนัขมีไขมันและไม่ดีต่อสุขภาพกีฬาประจำชาติ https://www.hotpremier.com/2018/10/blog-post_13.html

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
ต้องการแลกลิงค์ ติดต่อ plasmamax@gmail.com