คนรักหมา รวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับหมา การดูแลและการเลือกน้องหมา การเลี้ยงหมาและการผสมพันธุ์ เทคนิคการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่ง ฝึกหมาเบื้องต้นด้วยตนเอง รวมถึงวิธีการรักษาและป้องกันโรคทั่วไปของสุนัข
Thursday 17 March 2011
โรคที่อาจเกิดกับสุนัข
โรคพยาธิ
พยาธิสารพัดชนิด อาจอยู่ในตัวสุนัขแสนรักชนิดที่ไม่สามารถคาดเดาที่มาและปริมาณที่มันกระ ดึ๊บๆ อยู่ในตัวสุนัขได้ อันตรายจากพยาธิโดยมากคือ "พยาธิภายใน" ส่งผลตรงต่อระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นพยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย รวมถึงพยาธิตัวตืด มักจะทำให้สุนัขท้องเสีย ส่งผลต่อถึงสุขภาพที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง ลูกสุนัขที่ติดพยาธิมักพบว่าท้องป่อง กรณีที่ติดพยาธิมากๆ ก็มักพบพยาธิดังกล่าวออกมากับอุจจาระ และเสี่ยงมากที่จะแพร่กระจายพยาธิไปสู่สิ่งแวดล้อมและติดต่อมายังคนได้ หรือสัตว์ตัวอื่น ดังนั้น สุนัขจึงควรได้รับการถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ หรืออย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน
แต่พยาธิอีก 2 ชนิด ที่ผู้เลี้ยงต้องพึงระวังย่างยิ่งก็คือ "พยาธิหนอนหัวใจ" และ "พยาธิเม็ดเลือด" ที่มี "ยุง" และ "เห็บ" เป็นพาหะนำโรค ซึ่งสุนัขในเมืองไทยนับว่าเป็นสัตว์ที่สุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้เป็นอย่างมาก เพราะมีพาหะนำโรคกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง ดังนั้น สุนัขจึงควรได้รับยาป้องกัน ซึ่งปัจจุบันมีเวชภัณฑ์ที่ผู้เลี้ยงสามารถเลือกใช้ได้ มีทั้งยาฉีด ยากิน หรือยาหยดผ่านผิวหนัง แต่ควรได้รับคำปรึกษาจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นการดีที่สุด
ทุกโรคที่กล่าวมาสามารถป้องกันได้ตามที่กล่าวทั้งสิ้น แต่ผู้เลี้ยงจำนวนมากมองโรคและการป้องกันโรคเหล่านี้ว่าเป็น "ภาระ" เนื่องจากวัคซีนแต่ละเข็มมีค่าใช้จ่าย แต่อาจลืมคิดไปว่าเมื่อถึงคราวสุนัขป่วย ค่ารักษาพยาบาลกลับทวีค่ามากกว่าราคาวัคซีนหลายเท่าตัว ทางออกที่หลายคนปฏิบัติก็คือ ปล่อยให้สุนัขอ่อนแอ พิการและทนทรมานกับโรคต่อไป หากวันใดที่ตนเองทนดูไม่ไหวก็ปล่อยให้สุนัขเป็นภาระผู้อื่นไป หรือไม่ก็ปล่อยให้มันตายไปอย่างช้าๆ
โรคเลปโตสไปโรซีส
โรคนี้คุ้นหูกันมากในชื่อของ "โรคฉี่หนู" แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคนี้สามารถแพร่เชื้อสู่คนและสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้โดย ติดเชื้อจากการปนเปื้อนกับปัสสาวะของสัตว์ป่วยผ่านพาหะนำโรคอย่างหนู หากสุนัขติดเชื้อจะแสดงอาการมีไข้สูง อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด กระหายน้ำมาก ดีซ่าน เจ็บปวดในช่องท้อง บางรายอาการหนักอาจถึงชีวิต ซึ่งดูไม่แตกต่างกับอาการของคนที่ติดโรคฉี่หนู แต่สุนัขไม่สามารถบอกผู้เลี้ยงได้เอง ต้องอาศัยความใส่ใจและการสังเกตจากผู้เลี้ยงเป็นหลัก
ปัจจุบัน มีรายงานพบว่า โรคนี้ติดต่อมาสู่คนได้โดยมีสุนัขเป็นพาหะนำโรคเสียเอง ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงไม่ควรละเลยโรคนี้ สุนัขทุกตัวภายในความดูแลควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค โดยฉีดเข็มแรกให้กับสุนัขอายุ 8 สัปดาห์ และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 10 สัปดาห์ หรือตามสัตวแพทย์กำหนด
ป้ายกำกับ:
โรคต่างๆของสุนัข
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
ต้องการแลกลิงค์ ติดต่อ plasmamax@gmail.com
No comments:
Post a Comment